หมู่บ้านสันติคีรี เดิมชื่อ หมู่บ้านแม่สลอง เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นแบบอัลไพน์ และเป็นที่รู้จักกันจากชาวบ้านที่เป็นเผ่าชนภูเขา ไร่ชา และดอกซากุระ
ประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของหมู่บ้านสันติคีรีมีศูนย์กลางอยู่ที่การค้าฝิ่นในแถบสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งมีประชากรจากกองพล 93 "กองทัพสาบสูญ" ของสาธารณรัฐจีน มีส่วนพัวพันอยู่ด้วย ภายหลังสงครามกลางเมืองจีนสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2492 บางส่วนของกองกำลังพรรคก๊กมินตั๋งปฏิเสธที่จะยอมจำนน รวมทั้งกองพล 93 นำโดยพลเอกต้วน ซีเหวิน[1] กองพล 93 ทำการสู้รบออกจากมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และทหารได้อยู่อาศัยอย่างเร่ร่อนในป่าของพม่า ก่อนที่จะลี้ภัยเข้ามาในแม่สลอง เพื่อแลกเปลี่ยนกับการลี้ภัยของพวกเขา ทหารกองพล 93 จึงช่วยทำการสู้รบต่อต้านการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์บริเวณพรมแดนไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2525 รัฐบาลไทยตอบแทนโดยการมอบสถานะพลเมืองให้กับทหารก๊กมินตั๋งและครอบครัว
พืชที่ปลูกเพื่อการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชา
ได้เข้ามาแทนที่การปลูกต้นฝิ่น และในปัจจุบัน
สันติคีรีเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันในชื่อ
"สวิตเซอร์แลนด์น้อย"[2]
ประวัติ
จุดกำเนิดของหมู่บ้านสันติคีรีมีมาตั้งแต่สมัยสิ้นสุดสงครามกลางเมืองจีน เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2492 พรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของเหมา เจ๋อตุง ได้รับชัยชนะในประเทศจีน ส่วนกองทัพก๊กมินตั๋ง ภายใต้การนำของจอมทัพเจียง ไคเช็ค ที่พ่ายแพ้ ได้ล่าถอยไปยังไต้หวัน ยกเว้นกรมทหารราบที่ 3 ที่ 5 และกองพล 93 ซึ่งปฏิเสธที่จะยอมจำนน[3]
การสู้รบระหว่างกองทัพคอมมิวนิสต์และก๊กมินตั๋งยังคงดำเนินต่อไปในพื้นที่
ห่างไกลบางส่วนของจีน รวมทั้งมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้
เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์เคลื่อนทัพเข้าสู่คุนหมิง
เมืองหลวงของมณฑล ได้สำเร็จในเดือนมกราคม พ.ศ. 2493 กรมทหารที่ 3 และที่ 5
ภายใต้การบัญชาการของพลเอกลี เหวินห้วน และต้วน ซีเหวิน ตามลำดับ
ได้ทำการสู้รบออกจากยูนนานและหลบหนีเข้าไปในพื้นที่ป่าของพม่า[4]
สงครามยังไม่สิ้นสุดสำหรับทหารก๊กมินตั๋ง หลังจาก "การเดินทางวิบาก" ของพวกเขาตั้งแต่ยูนนานจนถึงรัฐฉานของ
พม่า
ฝ่ายพม่าเมื่อค้นพบว่ามีกองทัพต่างชาติเข้ามาตั้งค่ายในแผ่นดินของตนก็ได้ทำ
การโจมตี การสู้รบยืดเยื้อกว่า 12 ปี
และทหารก๊กมินตั๋งหลายพันคนได้อพยพกลับไปยังไต้หวัน เมื่อจีนเข้าร่วมในสงครามเกาหลี หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(CIA) ก็ได้มีความต้องการข่าวกรองเกี่ยวกับจีนอย่างมาก
ซีไอเอได้หันไปพึ่งนายพลก๊กมินตั๋งทั้งสอง
ผู้ซึ่งตกลงที่จะส่งทหารบางส่วนกลับเข้าไปในจีนสำหรับภารกิจในการแสวงหา
ข่าวกรอง เพื่อเป็นการตอบแทน
ซีไอเอได้เสนออาวุธยุทธภัณฑ์ให้แก่นายพลทั้งสองเพื่อยึดจีนคืนจากฐานในรัฐ
ฉาน กองทัพก๊กมินตั๋งพยายามมากกว่าเจ็ดครั้งระหว่าง พ.ศ. 2493 และ 2495
เพื่อรุกรานยูนนาน แต่ก็ถูกขับไล่กลับมายังรัฐฉานครั้งแล้วครั้งเล่า[5]
การสิ้นสุดของสงครามเกาหลีใน พ.ศ. 2496
มิใช่จุดสิ้นสุดสำหรับการต่อสู้กองทัพคอมมิวนิสต์จีนและพม่า
ซึ่งยังคงมีต่อเนื่องมาเป็นเวลาอีกหลายปี โดยได้รับการสนับสนุนจากวอชิงตันและไต้หวัน ซึ่งเงินทุนนั้นก็ได้รับมาจากการมีส่วนเกี่ยวข้องในการค้ายาเสพติดบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ[6]
ลี้ภัยในประเทศไทย
พ.ศ. 2504 นายพลต้วนนำทหารก๊กมินตั๋งที่เหนื่อยล้าจากการทำศึกราว 4,000
นายออกจากพม่าเข้ามายังแถบภูเขาแม่สลองในประเทศไทย
ในการแลกเปลี่ยนกับการลี้ภัยครั้งนี้
รัฐบาลไทยกำหนดให้พวกเขาช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่อการแทรกซึม
ของคอมมิวนิสต์[7] ผลที่ตามมาคือ ชาวบ้านที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ทุกวันนี้มีเชื้อชาติจีน
และเป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากทหารก๊กมินตั๋งเหล่านั้น ขณะเดียวกัน
พลเอกลีแห่งกรมทหารที่ 3
ได้ก่อตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงใหม่[8]
กองทัพก๊กมินตั๋งได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กำลังนอกแบบจีน" (CIF)
และได้รับการจัดวางให้อยู่ภายใต้การควบคุมของคณะทำงานพิเศษ ชื่อรหัส "04"
โดยอยู่ภายใต้กองบัญชาการทหารสูงสุดในกรุงเทพมหานคร[5]
หลังจากที่ทหารก๊กมินตั๋งมาถึงดอยแม่สลอง
จีนและไทยได้ตกลงที่จะถ่ายโอนการบริการกลุ่มให้แก่รัฐบาลไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัดทางภาคใต้ ประหยัด สมานมิตร
ซึ่งถูกย้ายมาบรรจุเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
เพื่อคอยดูกองพลก๊กมินตั๋ง ได้ถูกสังหารโดยผู้ก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์
ไม่นานหลังจากนั้น
กองพลก๊กมินตั๋งได้รับคำสั่งให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยในการตอบโต้กองทัพที่
กำลังรุกคืบเข้าใกล้ชายแดนทางเหนือของไทย และภัยคุกคามภายในที่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย[9]
ได้มีการสู้รบอย่างดุเดือดเกิดขึ้นในแถบภูเขาดอยหลวง ดอยยาว ดอยผาหม่น
และแม่อาบ ซึ่งประสบความสำเร็จในการตอบโต้ก่อกำเริบของคอมมิวนิสต์ถูกตอบโต้
ปฏิบัติการที่นองเลือดที่สุดเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2513
การทัพระยะเวลาห้าปีซึ่งฆ่าชีวิตไปกว่า 1,000 ชีวิต
โดยจำนวนมากเสียชีวิตจากทุ่นระเบิด จนกระทั่ง พ.ศ. 2525
ทหารจึงสามารถวางอาวุธและถูกปลดออกจากหน้าที่เพื่อกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติ
สุขที่ดอยแม่สลอง เพื่อเป็นรางวัลแก่การให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
รัฐบาลไทยจึงมอบสถานะพลเมืองให้แก่ทหารก๊กมินตั๋งและครอบครัวเป็นส่วนใหญ่[9]
ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยพยายามที่จะรวมกองพลก๊กมินตั๋งและครอบครัวเข้ากับชาติ
ไทย
แต่ผู้อาศัยบนดอยแม่สลองกลับเลือกที่จะใช้เวลาหลายปีเกี่ยวข้องกับการค้า
ฝิ่นผิดกฎหมาย ร่วมกับขุนศึกยาเสพติด ขุนส่า แห่งกองทัพสหฉาน[3] พ.ศ. 2510 ต้วนได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษของวีกเอนด์เทเลกราฟว่า
เรายังต้องต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ที่ชั่วร้ายต่อไป และเพื่อที่จะสู้ คุณต้องมีกองทัพ และกองทัพจะต้องมีปืน และในการที่จะซื้อปืน คุณต้องมีเงิน ในแถบภูเขานี้ เงินเพียงแหล่งเดียวก็คือฝิ่น[10] |
||
— พลเอกต้วน ซีเหวิน (10 มีนาคม 2510) |
ตามรายงานของซีไอเอใน พ.ศ. 2514 ดอยแม่สลองเป็นหนึ่งในพื้นที่ผลิตเฮโรอีนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[11]
จนกระทั่งปลายคริสต์ทศวรรษ 1980
หลังจากกองทัพของขุนส่าถูกขับไล่และผลักดันกลับเข้าสู่พม่าโดยกองทัพไทยแล้ว
รัฐบาลไทยจึงสามารถมีความคืบหน้าในการควบคุมพื้นที่ดังกล่าวได้
ซึ่งบางส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการเปลี่ยนพืชที่ปลูกและการให้ชื่อใหม่แก่
พื้นที่ สันติคีรี หมายถึง "ภูเขาแห่งสันติภาพ"
ซึ่งรัฐบาลไทยตั้งชื่อดังกล่าวในความพยายามที่จะแยกพื้นที่ดังกล่าวออกจาก
ภาพลักษณ์ในอดีตที่เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่น[12] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมาชิกราชวงศ์จักรีพระองค์อื่นมักจะเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเป็นประจำเพื่อเป็นสัณลักษณ์สนับสนุนอดีตทหารผู้ซึ่งเคยต่อสู้ให้กับชาติไทย[9]
สันติคีรีในปัจจุบัน
ก่อนหน้ากลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ดอยแม่สลองเคยถูกห้ามคนภายนอกเข้าอย่างเข้มงวด[13]
จากประวัติศาสตร์เฉพาะตัวของพื้นที่ ทำให้่ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา
สันติคีรีได้พัฒนามาเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีถนนสายแคบที่มีร้านเหล้า
ร้านก๋วยเตี๋ยว และร้านน้ำชาตั้งอยู่ข้างทาง ผลที่ตามมาคือ
สันติคีรีได้กลายมาเป็นหนึ่งในสิบจุดหมายเดินทางของนักท่องเที่ยวสะพายเป้
หลังที่ได้รับความนิยมสูงสุด[14]
อดีตทหารได้ตั้งถิ่นฐานลง
โดยมีบางส่วนสมรสกับเจ้าสาวเชื้อสายจีนผู้ซึ่งข้ามพรมแดนมาก่อนที่สงคราม
กลางเมืองจีนจะยุติ และอีกส่วนหนึ่งสมรสกับชาวไทยท้องถิ่น
อดีตทหารและผู้สืบเชื้อสายได้ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข
แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความเป็นชาวจีน ภาษาหลักที่ใช้พูดกันยังคงเป็นภาษาแมนดาริน
โครงการเปลี่ยนพืชประสบความสำเร็จในการกระตุ้นให้เกิดการปลูกชา กาแฟ
ข้าวโพดและไม้ผล แทนที่ต้นฝิ่นซึ่งเคยปลูกกันมาแต่เดิม
ได้มีการจัดตั้งสวนผลไม้และโรงงานชาขึ้น
ตามมาด้วยโรงงานการผลิตสำหรับไวน์ผลไม้และสมุนไพรจีน
ซึ่งได้รับความนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวจีนจาก
ไต้หวัน ประชาคมชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากจีนในปัจจุบัน[15]
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
หมู่บ้านสันติคีรีตั้งอยู่บนยอดดอยในอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
โดยตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 80 กิโลเมตร
ซึ่งเป็นบริเวณยอดสูงสุดของทิวเขาแม่ฟ้าหลวง ที่ระดับความสูง 1,800
เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีภูมิอากาศคล้ายอัลไพน์
โดยมีอากาศหนาวเย็นสดชื่นตลอดทั้งปี
และหนาวยะเยือกในช่วงฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
การเดินทางไปยังหมู่บ้านสันติคีรีสามารถใช้สองเส้นทาง คือ ทางหลวงหมายเลข
1130 และทางหลวงหมายเลข 1234 จากทางใต้
ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการตัดถนนลาดยางเข้ามานั้น
หมู่บ้านสามารถเข้าถึงได้โดยม้าบรรทุกสัมภาระเท่านั้น[12] ในปัจจุบัน มีบริการรถมินิบัส ให้บริการตั้งแต่ 6.00 น. จนถึง 22.00 น. เส้นทางจากเชียงรายจนถึงหมู่บ้านสันติคีรี[16]
หมู่บ้านสันติคีรีได้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาหลายชนเผ่า อย่างเช่น อาข่า เย้า กะเหรี่ยง และม้ง
ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจากจีนตอนใต้และพม่า แต่ละชนเผ่าต่างก็มีภาษาเป็นของตนเอง
และมีประเพณีและวิถีปฏิบัติแบบนับถือผี
ส่วนผู้ที่สืบเชื้อสายชาวจีนเป็นประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านสันติคีรีที่มี
อยู่ราว 20,000 คน[4]
จุดสังเกตและแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว
หมู่บ้านสันติคีรีเป็นที่รู้จักกันดีใน "ชาอู่หลงดอย
แม่สลอง" ซึ่งเป็นชาจีนโบราณคุณภาพสูง ซึ่งมีปริมาณการผลิตกว่า 80%
ของการผลิตชาทั้งหมดในจังหวัดเชียงราย (200 ตันต่อปี)
ลักษณะภูมิอากาศและพื้นดินประกอบกันที่หมู่บ้านสันติคีรีมีความเหมาะสมอย่าง
ยิ่งสำหรับการปลูกอู่หลงคุณภาพดี[4] โดยจะต้องปลูกที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,400 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล พ.ศ. 2548 หมู่บ้านสันติคีรีได้รับเลือกจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวโอทอป
เนื่องจากชาอู่หลงคุณภาพดีดังกล่าว เป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า
การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว และพัฒนาสินค้าและบริการของประเทศ
ผู้เชี่ยวชาญชาวไต้หวันทำงานร่วมกับเกษตรกรท้องถิ่นในกระบวนการผลิตชาซึ่ง
ผลิตชาคุณภาพสูงสำหรับตลาดภายในและตลาดส่งออก
จำนวนไร่ชาในหมู่บ้านได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ
1990 รวมทั้งไร่โชคจำเริญ, วังพุดตาล และไร่ชา 101[17]
ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม จนถึง 2 มกราคมของทุกปี
หมู่บ้านสันติคีรีจะจัดเทศกาลซากุระบานประจำปี
ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลอง ร่วมกับอำเภอแม่ฟ้าหลวง
เทศกาลดังกล่าวเฉลิมฉลองวัฒนธรรมชาวเขาจากพื้นที่จังหวัดเชียงราย
รวมทั้งการขายสิ่งของหัตถกรรม การแสดงแสงและเสียง ขบวนพาเหรดโดยชาวเขา
และการประกวดนางงาม[18]
พลเอกต้วน ชีเหวิน เสียชีวิตใน พ.ศ. 2523
และร่างถูกฝังอยู่ในสุสานคล้ายสถูปบนยอดเนินที่สามารถไปถึงได้โดยการปีน 300
เมตร จากยอดเนินดังกล่าว มีมุมพาโนรามาของหมู่บ้าน[8]
นอกจากนี้
ยังมีอนุสรณ์สถานถึงทหารก๊กมินตั๋งผู้ซึ่งเสียชีวิตระหว่างการรบต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ อนุสรณ์วีรชน
พิพิธภัณฑ์ซึ่งมีการจารึกนามผู้เสียชีวิตไว้บนกระดาน
ติดตั้งอยู่บนแท่นบูชาในอาคารหลัก
ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของศาลเจ้าจีนขนาดใหญ่
ตัวพิพิธภีณฑ์ยังจัดแสดงนิทรรศการซึ่งบรรยายถึงการต่อสู้ของทหารก๊กมินตั๋ง
และการพัฒนาของหุบเขาดอยแม่สลอง[19]
พระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์ซึ่งสร้างขึ้นบนเนินใกล้กับหมู่บ้าน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นอกจากนี้ ยังมีมุมทิวทัศน์พรมแดนพม่าที่ยอดเยี่ยมจากบนยอด พื้นที่ซึ่งเคยห้ามเข้าในยุคสมัยภายใต้การควบคุมของขุนส่า[2]